เมนู

ถึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะ
พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข
แก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรม
อะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดี
แล้ว เป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสัง-
คายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน
ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ว่าด้วยสังคีติหมวด 1



[226] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม 1 อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึง
เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ
อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม 1 เป็นไฉน. คือ
สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ด้วยอาหาร

สพฺเพ สตฺตา สงฺขารฏฺฐิติกา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ด้วยสังขาร
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ
แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรม
นั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด 1

ว่าด้วยสังคีติหมวด 2



[227] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม 2 อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม 2 เป็นไฉน. คือ นาม และ รูป 1.
อวิชชา และ ภวตัณหา 1. ภวทิฏฐิ และ วิภวทิฏฐิ 1. อหิริกะ ความไม่
ละอาย และ อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัว 1. หิริ ความละอาย และ
โอตตัปปะ ความเกรงกลัว 1. โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก และ
ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว 1. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย และ
กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรดี 1. อาปัตติกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาด
ในอาบัติ และ อาปัตติวุฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจาก